ยินดีต้อนรับค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


เทคนิคเรียนเก่ง7ข้อ


ข้อที่ 1 : พกปากกาสี  12  สี  ติดตัว
ทฤษฎีสี กล่าวไว้ ว่า สีจะสามารถเพิ่มการจดจำเนื้อหาต่าง ๆ ได้มากกว่า สีน้ำเงินที่เขียนตามปกติ
จึงควรซื้อปากกาสีต่าง ๆ ติดตัวไว้ เวลาอ่านหนังสือก็ใช้ปากกาสีในการจดเนื้อหา ของ stabio ก็ดีนะ ทนหลายปีเลยแหล่ะ
* สำหรับคนที่กลัวว่าจะจดไม่ทันก็ใช้วิธีจดเฉพาะเนื้อหาสำคัญพร้อมกับบันทึกเสียงไปพร้อม ๆ กัน แค่นี้ก้อสามารถจดจำได้แล้วล่ะ

  
ข้อที 2 : ใช้สมุด note ที่ไม่มีเส้น

  การใช้สมุดnote ที่มีลายเส้นนั้นเหมือนเราอยู่แต่ในกรอบเส้นนั้น แต่ถ้าใช้สมุดnote ที่ไม่มีเส้นนั้นจะ

ทำให้เราไม่มีกรอบในการเขียน เราอยากเขียนอะไรก็อยากเขียนได้ทั้งนั้น  ปัจจุบันหาซื้อยาก ต้องลองหาแถว ร้านขายสมุดวาดรูปดูน่ะ

ข้อที่ 3 : บันทึกงานออกมาในรูป Mind Map  Or  Pic. 

  ถ้าเราอ่านหนังสือการ์ตูนตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว กับอ่านหนังสือ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เราจะสามารถจดจำ

การ์ตูนได้มากกว่า  เวลาจดเนื้อหาบางอย่างอาจจะจดในรูปแบบ Pic. จะสามารถจดจำได้มากกว่า

การบันทึกงานในรูปแบบของ mind Map จะเป็นการแบ่งเรื่องหัวข้อใหญ่ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการอ่าน อาจใช้ mind map เป็นรูปก็ได้

ข้อที่ 4 : Mp3

 เราควรจะมี mp3 เพื่อใช้ในการบันทักเสียงเวลาที่คุณครูสอนแต่ไม่สามารถฟังและเก็บเกี่ยวเนื้อหาได้ครบทุกอย่าง

หากเราอัดไว้ก็จะสามารถย้อนกลับไปฟังได้ หลาย ๆ ครั้ง ก่อนสอบ

ข้อที่ 5 : เอาใจครู

 เอาใจครูในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเอาอกเอาใจครู หมายถึง ทำตัวตามสไตร์ที่คุณครูชอบ เพื่อเพิ่มความชอบของคุณครูในตนเอง

เวลาเราชอบครูคนไหนก็อยากเรียนกับครูคนนั้น อยากส่งงาน ครู อยากเจอหน้าครู ก็จะทำให้เรียนเก่งยิ่งขึ้น

เพราะ  เราอยากเรียนวิชานั้น ๆ 

ข้อที่ 6 : พูดคุยกับปากกา

ก่อนสอบ หรือก่อนเขียนงานเราควรพูดคุยกับปากกาบ้าง  

คุณหนูดี กับ ด็อกเตอร์ อะไรเนี่ยแหล่ะจำชื่อไม่ได้  ก็ใช้วิธีนี้จนเรียนจบปริญญา

ข้อที่  7 : นั่งหน้าห้อง

      นั่งหน้าห้องจะสามารถทำให้เราได้ยินมากกว่าคนที่นั่งข้างหลังเรา เห็นชัดกว่าคนข้างหลังเรา และสามารถถามครูได้มากกว่า ซึ่งมันเป็นที่แน่นอนอยู่แล้ว


เครดิต  ; หนังสือของคุณหนูดี  

ที่มา www.dekd.com,http://blog.eduzones.com/bambo/23970



เทคนิคเรียนเก่งขั้นเทพ








เทคนิคเรียนเก่งขั้นเทพ...
เคล็ดลับการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนนี้ เป็นเทคนิคง่าย ๆ ที่นักเรียนนักศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติได้ทุกคน ขอแต่เพียงเข้าใจเคล็ดลับ วิธีการเท่านั้นเอง หัวใจสำคัญของการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียน คือ การหมั่นฝึกฝนตามขั้นตอนให้เกิดความเคยชินจนติดกลายเป็นนิสัยการอ่านเพื่อทำ ความเข้าใจนี้จะแตกต่างจากการอ่านเพียงเพื่อท่องจำหากท่านสามารถจับหลักนี้ ได้ท่านย่อมพบกับความสำเร็จในการเล่าเรียนศึกษาอย่างแน่นอนขอให้โชคดีทุก ๆ คนนะครับ
1.เวลาอ่านบทเรียนหรือตำรา ให้อ่านอย่างตั้งใจ แต่ทว่าเราจะไม่อ่านไปเรื่อย ๆ คือเราจะ หยุดอ่านเมื่อจบย่อหน้าหรือหยุดเมื่ออ่านไปได้พอสมควรแล้ว
2.จากนั้นให้ปิดหนังสือ ! แล้วลองอธิบายสิ่งที่ตนเองได้อ่านมาให้ตัวเองฟัง คือ เราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังด้วยภาษาสำนวนของเราเอง ฟังแล้วเข้าใจหรือเปล่า หากเราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังรู้เรื่อง แสดงว่าเราเข้าใจแล้ว ให้อ่านต่อไปได้
3.หากตอนใดเราอ่านแล้วแต่ไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองรู้เรื่อง แสดงว่ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านทบทวนใหม่อีกครั้ง
4.หากเราพยายามอ่านหลายรอบแล้วยังไม่เข้าใจจริงๆให้จดโน้ตไว้เพื่อนำไป ถามอาจารย์ จากนั้นให้อ่านต่อไป
5. ข้อมูลบางอย่างในตำราจำเป็นที่จะต้องท่องจำ เช่น ตัวเลข สถิติ ชื่อสถานที่ บุคคล หรือ สูตร ต่าง ๆ ฯลฯ ก็ควรท่องจำไว้ด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
6. การเรียนด้วยวิธีท่องจำโดยปราศจากความเข้าใจ เรียนไปก็ลืมไป สูญเสียเวลา เปล่าประโยชน์ เสียเงินทอง
7. การเรียนที่เน้นแต่ความเข้าใจ โดยไม่ยอมท่องจำ ก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ไม่ชัดเจน คลุมเครือ
8. ดังนั้นจึงขอสรุปเทคนิคง่าย ๆ สั้น ๆ ดังต่อไปนี้ :-
ก.ให้อ่านหนังสือ สลับกับ การอธิบายให้ตัวเองฟัง
ข.ให้ท่องจำเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องจำจริง ๆ เช่น ตัวเลข ชื่อเฉพาะต่างๆ
อ่านหนังสือด้วยวิธีการนี้จะทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้ทั้งเล่ม ไม่ลืมเลย...

ที่มา : มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ,http://campus.sanook.com

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

วันศุกร์ ที่ 28 กันยายน 2555

            วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่่อง การนำแท็บเล็ตมาใช้กับเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ว่ามีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร ตามความคิดของนักศึกษา โดยอาจารย์ให้เวลาในการวิเคราะห์ 20 นาีที 






วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

อบรมการประดิษฐ์ดอกไม้

ดอกไม้ที่ฉันกับเพื่อนๆประดิษฐ์แล้วเอามารวมเป็นช่อเดียวกันค่ะ

ถ่ายภาพกับผลงานของเพื่อนๆ


ดอกไม้ที่ทำจากกระดาษเป็นผลงานของพี่ๆและเพื่อนๆค่ะ


วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่15

วันที่ 21 กันยายน 2555


           วันนี้อาจารย์ตรวจความเรียบร้อยของ Blogger ของนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาไปแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม

กระบวนการในการทำงาน

1.ตั้งวัตถุประสงค์ก่อนเป็นอันดับแรก
2.ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งข่าวต่างๆ
3.นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์
4.ปรับปรุงแก้ไขและตกแต่งให้สวยงาม

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่14

วันที่ 14 กันยายน 2555


          อาจารย์ให้กลุ่มนักศึกษาที่ยังไม่ร้องเพลงออกไปร้องเพลงหน้าห้องให้ครบทุกกลุ่ม จากนั้นก็ให้นักศึกษาออกมาเล่านิทานตามที่ได้จับฉลากไป ระหว่างที่เล่าอาจารย์ก็บันทึกเป็นวิดีโอเก็บไว้เพื่อเป็นผลงานของนักศึกษา ส่วนกลุ่มดิฉันได้เล่านิทานแบบ เล่าไปพับไป


นิทานเรื่อง แพวิเศษ
อุปกรณ์ในการพับเรือ

เรือ

เนื้อเรื่องของนิทาน


            ณ ท้องทะเลอันกว้างใหญ่ กลางทะเลมีเกาะเล็กๆอยู่เกาะหนึ่ง และเกาะแห่งนี้ก็มีตากับยายอาศัยอยู่ด้วยกันสองคน เกาะแห่งนี้มักมีผู้คนหลงพลัดมาติดอยู่เสมอ แล้วตากับยายก็ให้ความช่วยเหลือดูแลทุกคนอย่างดีเสมอมา 
           วันหนึ่งตากับยายได้ชวนกันออกไปหาปลาในทะเล ซึ่งตาก็ได้นำแพคู่ใจที่ใช้ออกกลางทะเลเป็นประจำออกไป ก่อนลงทะเลตากับยายก็ได้ตรวจดูสภาพอากาศในวันนี้แล้วว่าคงไม่มีพายุอะไรแน่นอน เมื่อแน่ใจดังนั้นแล้ว ตากับยายก็ล่องแพไปหาปลากลางทะเลด้วยความสบายใจ  ตากับยายได้ปลาจำนวนหนึ่ง จู่ๆ ก็มีลมพายุลูกใหญ่กระหน่ำมา จึงทำให้น้ำทะเลซัดมากระทบกับแพอย่างแรง ตากับยายตกใจมาก เพราะไม่คาดคิดว่าเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้น เมื่อพายุลูกแรกสงบไป พายุลูกที่สองก็มาอีกคราวนี้ พายุก็ทำให้แพของตากับยายแตก น้ำก็เริ่มซึมเข้ามาในแพ สองตายายพยายามช่วยกันอุดรอยแตกนั้น แต่ก็ไม่สามารถต้านทานแรงของน้ำได้ แพจึงค่อยๆจมลงไปในน้ำเรื่อยๆ ระหว่างที่สองตายายกำลังพยายามเอาชีวิตรอดอยู่นั้น ก็มีนางฟ้าที่อยู่บนสวรรค์กำลังเฝ้ามองอยู่ เมื่อนางฟ้าเห็นว่าตากับยายกำลังต้องการความช่วยเหลือ นางฟ้าจึงใช้คาถาวิเศษ เสกให้แพกลายเป็นเรือ  จากนั้นแพก็ค่อยๆกลายเป็นเรือ ตากับยายก็ปลอดภัย 
               จากนั้นทั้งสองตายาย ก็เดินทางกลับไปยังเกาะด้วยความปลอดภัยและมีความสุข

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่13

วันที่ 7 กันยายน 2555

            วันนี้อาจารย์แจกสีหนึ่งกล่องกับแผ่นพยัญชนะไทย 44 ตัว หนึ่งแผ่น อาจารย์ได้สรุปเรื่องของภาษาของเด็กเริ่มต้นด้วยการสัมภาษณ์และวิเคราะห์การใช้ภาษาของเด็กแต่ละวัย อาจารย์ยกตัวอย่างสื่อที่ใช้ส่งเสิรมทางด้านภาษา อาทิ นิทาน เพลง คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย  รวมทั้งพูดถึงการจัดประสบการณ์ทางภาษา อาทิ รูปภาพ นิทาน บัตรคำ และเน้นถึงความสำคัญของการส่งเสิรมทางภาษาทั้ง 4 ด้าน คือ การฟัง การฟังเทป แผ่นเสียง  ด้านการพูดคือ ให้เด็กเล่นหุ่นมือ ด้านการอ่าน นำหนังสือนิทานมาให้เด็กอ่าน และด้านการเขียน คือเตรียมกระดาษแผ่นเล็กพร้อมดินสอเอาไว้ ให้เด็กๆได้ฝึกเขียน

เรียนชดเชยสัปดาห์ที่10

วันอาทิตย์ ที่ 19 สิงหาคม 2555

กิจกรรมในวันอาทิตย์

-ให้นักศึกษาเลือกเอาสิ่งของอะไรก็ได้ของตนเอง ที่ชอบที่สุดมาหนึ่งอย่าง แล้วให้บอกเหตุผลด้วยว่า
ทำไมถึงชอบ
สิ่งที่ดิฉันชอบก็คือ ยาดม เพราะเป็นสิ่งที่แม่ซื้อให้ แล้วก็ช่วยให้ผ่อนคลาย และแก้วิงเวียนศีรษะได้ด้วย
-ให้นักศึกษาเลือกสิ่งของที่มีอยู่ของตัวเองมาหนึ่งอย่าง แล้วให้โฆษณาของชิ้นนั้น
ปากกาเน้นข้อความ "เป็นปากาที่ช่วยให้คุณมีความจำที่ดี จำได้นาน เมื่่อคุณเน้นลงไปที่ข้อความที่ต้องการจดจำ อ่านปุ๊บก็จำได้ปั๊บเลย"





-ให้นักศึกษาวาดภาพสื่อออกมาแทนคำพูด ว่าภาพนั้นสื่อถึงคำว่าอะไร


ปาก+กา = ปากกา

-ให้นักศึกษาแต่ละคนวาดภาพตามความคิด แล้วให้นำภาพของแต่ละคนมาต่อกันเีรียงร้อยเป็นนิทานหนึ่งเรื่อง โดยให้เล่าตามภาพที่ตัวเองวาด



-แบ่งนักศึกษาออกเป็นสองกลุ่ม โดยให้กลุ่มแรกเป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์ กลุ่มที่สองให้เป็นฝ่ายอ่านข่าว



-ให้บอกชื่อจริงของตนเอง พร้อมกับทำท่าประกอบชื่อ แล้วให้นักศึกษาบอกชื่อเพื่อนและทำท่าประกอบชื่อเพื่อนที่นั่งอยู่ทางขวามมือของตนเอง